ข่าวสาร

TQA/Baldrige Performance Excellence Criteria ช่วยให้องค์กรฝ่าฟัน Disruptive Change ได้อย่างไร?

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจร่วมมือกับมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ จัดสัมมนา เรื่อง “แนวทางการประเมินผลการดำเนินงานตามระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ” (SEPA)

PDPA – พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล


 ขั้นตอนการประเมินผล

           บริการให้คำปรึกษาระบบประเมินผลการดำเนินงานโดยประยุกต์ใช้เครื่องมือในการจัดการ (Management Tool) ที่เป็นที่รู้จักในระดับสากล เช่น Balanced Scorecard , Benchmarking , Economic Value Management และ Total Quality Management เป็นต้น เพื่อใช้ประเมินผลการดำเนินงานผ่านการออกแบบตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators : KPIs) ทั้งในระดับองค์กร (Corporate) ระดับสายงาน / ฝ่ายงาน

image

ระบบประเมินผลทั่วไป

           บริการให้คำปรึกษาระบบประเมินผลการดำเนินงานโดยประยุกต์ใช้เครื่องมือในการจัดการ (Management Tool) ที่เป็นที่รู้จักในระดับสากล เช่น Balanced Scorecard , Benchmarking , Economic Value Management และ Total Quality Management เป็นต้น เพื่อใช้ประเมินผลการดำเนินงานผ่านการออกแบบตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators : KPIs) ทั้งในระดับองค์กร (Corporate) ระดับสายงาน / ฝ่ายงานและระดับบุคคล ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับผู้ใช้บริการได้ทุกภาคส่วนทั้ง รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานราชการ องค์กรอิสระ บริษัทเอกชน

           การจัดทำตัวชี้วัดตามแนวทางของ BSC จะเริ่มต้นจาการกำหนดวัตถุประสงค์ ในแต่ละมุมมองทั้ง 4 ด้าน ที่มีความสมดุลกันทั้งมุมมองระยะสั้น / ระยะยาว และผู้มีส่วนได้เสียภายใน / ภายนอกองค์กร ได้แก่

            1. ด้านการเงิน (Financial)
            2. ด้านลูกค้า (Customer)
            3. ด้านกระบวนการภายใน (Internal Process)
            4. ด้านการเรียนรู้และพัฒนา (Learning & Growth) 


          โดยจะต้องพิจารณาว่าภายใต้วัตถุประสงค์ในด้านต่าง ๆ อะไรคือตัวชี้วัดที่จะทำให้ทราบได้ว่าสามารถบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ถ้าภายใต้มุมมองด้านลูกค้า ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ในเรื่องของการเพิ่มความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ตัวชี้วัดที่จะตอบได้ว่าการดำเนินงานดังกล่าว   มีคุณภาพหรือไม่ ก็คือ ร้อยละหรือระดับความพึงพอใจของลูกค้า หรือ จำนวนข้อร้องเรียนที่ลดลง เป็นต้น ซึ่งการที่จะระบุได้ว่าอะไรคือตัวชี้วัดที่จะทำให้ทราบได้ว่าสามารถบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่ สามารถทำได้โดยอาศัยการจัดทำปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กรที่เรียกว่า Key Success Factors (KSF) ซึ่งจะกำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จในการที่บรรลุวัตถุประสงค์แต่ละด้าน เพื่อนำไปสู่การกำหนดตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับปัจจัยแห่งความสำเร็จนั้น และนำตัวชี้วัดที่จะได้กำหนดขึ้นมานั้น วัดหรือประเมินว่าองค์กรสามารถบรรลุปัจจัยแห่งความสำเร็จนั้นได้หรือไม่

           สำหรับการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจในปีบัญชี พ.ศ. 2547 - 2553 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้กำหนดกรอบ      การประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ อยู่ภายใต้กรอบการประเมินผล 3 ด้าน คือ

         1. การดำเนินการตามนโยบาย
         2. ผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ
         3. การบริหารจัดการองค์กร  

           เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดดังกล่าวข้างต้น ใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง แต่รายละเอียดจะแตกต่างกันไปตามประเภทรัฐวิสาหกิจ ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งที่แตกต่างกันไป ทั้งเกณฑ์การประเมินผล ตัวชี้วัด น้ำหนัก และเป้าหมายในการดำเนินงาน
ซึ่งจากแนวทางดังกล่าวนี้เอง ทำให้การออกแบบตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPIs) สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกองค์กร ตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจที่แตกต่างกันออกไป

           ทั้งนี้เริ่มตั้งปี 2553 ในการประเมินผลรัฐวิสาหกิจในปัจจุบันได้พัฒนาปรับปรุงเพิ่มจากเดิม โดยจะยึดหลักการตามแนวทางในคู่มือระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Performance Appraisal  : SEPA) ที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
โดยหลักการดังกล่าวมีการประเมินผลที่สำคัญ  2 ส่วน ประกอบด้วย

         1. กระบวนการ / ระบบ (Process)
         2. ผลลัพธ์ (Result)

ซึ่งแนวทางการประเมินผลยังสามารถเชื่อมโยงกับกันได้ระหว่างเกณฑ์การประเมินระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ และ BSC

หน่วยงานที่ IRDP ประเมิน

สาขาขนส่ง
  1. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  2. บริษัท ขนส่ง จำกัด
  3. การรถไฟแห่งประเทศไทย
  4. การรถไฟฟ้า​ขนส่งมวลชน​แห่ง​ประเทศไทย
  5. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ
สาขาสาธา​รณูปการ
  1. การประปาส่วนภูมิภาค
  2. การประปา​นครหลวง
  3. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  4. องค์การจัดการ​น้ำเสีย
  5. การเคหะแห่งชาติ
สาขาพลังงาน
  1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  3. การไฟฟ้านครหลวง
  4. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
สาขาสาธา​รณูปการ
  1. บริษัท ธนารักษ์​พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด
สาขาสถาบัน​การเงิน
  1. ธนาคารออมสิน
  2. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
  3. ธนาคารเพื่อการส่งออก​และนำเข้าแห่งประเทศไทย
  4. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร​

ติดต่อบุคลากร

             IRDP มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดัน และพัฒนารัฐวิสาหกิจ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทยให้ก้าวไกลสู่ระดับสากลผ่านระบบการประเมินผลองค์กร ดังนั้น เราจึงให้ความสำคัญกับการมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถที่หลากหลาย เต็มเปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ รวมทั้งเป็นผู้ที่มีความโปร่งใส ยึดมั่นในความถูกต้อง และมีคุณธรรม เพื่อร่วมสร้างสรรค์งานประเมินผลที่มีคุณภาพของเรา

 

           การคัดเลือกบุคลากรนับได้ว่าเป็นงานที่มีความสำคัญ และเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งมอบงานประเมินผลที่มีคุณภาพให้กับลูกค้า ด้วยเหตุนี้เอง IRDP จึงมีการคัดเลือกบุคลากรอย่างพิถีพิถัน โดยทำการคัดเลือกจากผู้ที่จบการศึกษาขั้นต่ำในระดับปริญญาโทในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และประเมินผล จากสถาบันการศึกษาชั้นนำที่เป็นที่ยอมรับจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งทำการคัดเลือกจากผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานในด้านการวางแผน วิเคราะห์ วิจัย ตลอดจนการบริหารจัดการองค์กร จากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าบุคลากรที่ผ่านการคัดเลือกของเรา จะเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถพร้อมเต็มที่ในการปฏิบัติงาน สามารถให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ สร้างคุณค่า แก่ลูกค้าของเราซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำที่มีภารกิจหลากหลายได้เป็นอย่างดี

 

หากท่านต้องการติดต่อสอบถามข้อมูล หรือรับการบริการจากบุคลากรฝ่ายประเมินผลของเรา ท่านสามารถติดต่อได้ที่

 

image
คุณคณิตา ชินะกาญจน์
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
02 714 5562
Khanita@irdp.org
image
คุณธวัชชัย โพธิ์วรสุนทร
ที่ปรึกษา
02 714 5557
Thawatchai@irdp.org
image
คุณบวรวรรณ สุขใย
ผูู้อำนวยการฝ่ายประเมินผล
02 714 5569
Bawornwan@irdp.org
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้